รีวิวหนังไทย อันธพาล

รีวิวหนังไทย อันธพาล

รีวิวหนังไทย อันธพาล

 

 

สปอยหนัง “อันธพาล” ผลงานกำกับล่าสุดของผู้กำกับก้องเกียรติ โขมศิริ น่าจะเป็นอีกหนังไทยที่โดดเด่นของปีนี้ และน่าจะได้เข้าชิงรางวัลด้านภาพยนตร์จากหลายสำนักเมื่อมีการประกาศกันปีหน้าครับ เพราะเป็นหนังไทยที่มีงานสร้างที่มีความละเอียด ปราณีต มีการแสดงอันยอดเยี่ยม และมีวิธีการเล่าเรื่องที่สร้างสรรค์และน่าสนใจในแบบที่ยังไม่เคยเห็นหนังไทยเรื่องไหนทำมาก่อน นอกจากนี้แล้วยังเป็นหนังไทยที่ผมกล้าพูดได้เต็มปากว่าควรให้การสนับสนุนครับ

 

เนื้อเรื่อง อันธพาล

เรื่องราวของ อันตรธาน ครองเมือง บอกเล่าเกี่ยวกับนักเลงดังแห่งพระนครในยุคร็อคแอนด์โรลล์ สมัยที่เจมส์ ดีน และ เอลวิส เพรสลี่ เป็นแรงบันดาลใจให้วัยรุ่นยุคนั้น มีตัวละครอันเป็นที่คุ้นเคยเพราะเคยถูกบอกเล่าเป็นหนังมาก่อนอย่างแดง ไบเล่, ปุ๊ ระเบิดขวด และดำ เอสโซ่ ใน “2499 อันธพาลครองเมือง” ของผู้กำกับนนทรีย์ นิมิบุตร แต่อย่างที่ชื่อหนังที่ดูจะกินความกว้างกว่า ไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าเป็นเหตุการณ์ในพ.ศ.ไหน “อันธพาล”ของก้องเกียรติมีขอบเขตของเรื่องราวที่กว้างกว่า มีตัวละครเด่นเยอะกว่า และขณะที่ “2499 อันธพาลครองเมือง” เน้นไปที่แดง ไบเล่ หนัง “อันธพาล” จะเน้นไปที่ตัวละครจ๊อด เฮาดี้ มือขวาและมิตรแท้ข้างกายของแดง ไบเล่ แทน

 

รีวิวหนังไทย อันธพาล

 

ดูเหมือนว่าจุดมุ่งหมายในการสร้างหนัง “อันธพาล” ของก้องเกียรติ ก็คือต้องการสร้างหนังแนวแก๊งสเตอร์ว่าด้วยวงการมาเฟียในประเทศไทย และอยากบอกเล่าเรื่องราวของผู้คนเหล่านี้ในแง่ของความเป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดา แต่ก็ยังขยายขอบเขตของเรื่องราวไปถึงแง่มุมทางประวัติศาสตร์ วิถีและเส้นทางชีวิตของคนที่เข้ามาในวงการนี้ว่าต้องเจอกับอะไรและจะมีจุดจบอย่างไร มุมมองของผู้คนที่ร่วมสมัยกับตัวละครต่อวงการนี้เป็นอย่างไร ซึ่งก้องเกียรติมีวิธีการในการเล่าเรื่องที่น่าสนใจด้วยการเอาการเล่าเรื่องแบบหนังปกติทั่วไปมาผสมกับรูปแบบของสารคดี โดยให้จ๊อด เฮาดี้ (กฤษดา สุโกศล แคลปป์) เป็นจุดศูนย์กลางและจุดเชื่อมต่อของทั้งหมดที่กล่าวมา ดูหนังออนไลน์,ดูหนังฟรี

 

สิ่งที่ผู้กำกับนำเสนอเรื่อง อันธพาล

รีวิวหนังไทย อันธพาล ผู้กำกับก้องเกียรติให้เรารู้จักกับจ๊อด เฮาดี้ ก่อน ด้วยภาพของคนหนุ่มขี้เกรงใจ สุภาพ เป็นที่รักของทั้งแม่และน้องสาว ก่อนที่จะได้เห็นภาพที่ตรงกันข้ามในฐานะนักเลงใจเด็ดที่ฆ่าคนได้โดยไม่ยั้งมือ และโหดเหี้ยม ผู้เป็นมือขวาและมิตรคู่กายของแดง ไบเล่ (สมชาย เข็มกลัด)

จ๊อดเป็นเด็กช่างกลมาก่อน และเข้าสู่วงการนักเลงโดยการชักชวนของแดง ซึ่งจ๊อดรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณตอนที่มาช่วยเขาระหว่างมีเรื่องวิวาทกับโรงเรียนช่างกลคู่อริ แดงพาจ๊อดไปเป็นนักเลงลูกน้องของเฮียหลอ มาเฟียกระหายอำนาจและปลิ้นปล้อน

 

รีวิวหนังไทย อันธพาล

 

ขณะที่แนะนำให้เรารู้จักและบอกเล่าเรื่องราวของจ๊อด ผู้กำกับก้องเกียรติก็ใช้เทคนิคของหนังสารคดีด้วยการให้ผู้คนที่รู้เรื่องราวของยุคโน้นมาช่วยเล่าในลักษณะการให้สัมภาษณ์ พร้อมทั้งแทรกภาพข่าวเก่าๆ มาประกอบ เพื่อช่วยบอกเล่าส่วนที่เป็นภาคผนวกและเกร็ดทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับตัวละคร และวงการนี้ เช่นฉากที่จ๊อดดวลกับเฮียเซ้ง (พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง) ผู้กำกับก็ให้คนที่รู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์มาเล่าเสริมถึงวิธีการดวลที่เรียกว่า “มัดมือดวลมีด” ที่จ๊อดกับเฮียเซ้งใช้นั้นเป็นยังไง หรือขณะที่พูดถึงตัวละครบางตัวเช่นแดง ไบเล่ หรือ ปุ๊ ระเบิดขวด ก็ให้ผู้คนมาเล่าเสริมว่ามุมมองที่คนสมัยนั้นที่มีต่อทั้งคู่เป็นยังไง เป็นวิธีการเล่าเรื่องที่ผู้กำกับก้องเกียรติให้สัมภาษณ์ว่าได้แรงบันดาลใจจาก District 9 ส่วนตอนที่ผมดูนั้นนึกถึงหนังฉายทีวีเรื่อง Execution of Justice ว่าด้วยการคดีฆาตกรรมฮาร์วี่ มิลค์ ที่ใช้การสัมภาษณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับคดีมาเล่าคู่ไปกับส่วนที่เป็นภาพยนตร์

 

รีวิวหนังไทย อันธพาล

นอกจากนี้แล้ว ยังมีการเล่าเรื่องวงในของมาเฟียผ่านมุมมองของเปี๊ยก (กฤษฎา สุภาพพร้อม) เด็กวัยรุ่นที่อาศัยและทำงานอยู่ในโรงหนังที่แดงกับจ๊อดชอบไปดูหนังบ่อยๆ เปี๊ยกมีเพื่อนรักชื่อธง (สาครินทร์ สุธรรมสมัย) และทั้งคู่ก็มีแดงกับจ๊อดเป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิต มองภาพของนักเลงรุ่นใหญ่ยุคนั้นว่าเป็นอะไรที่เท่ ใครไปไหนก็เกรงกลัวและนบนอบ จึงอยากที่จะเข้าแก๊งและเจริญรอยตาม ทำให้หนังมีส่วนคล้ายคลึงกับ The Godfather: Part II เพิ่มเข้ามา และหนึ่งชั่วโมงแรกของหนังก็ใช้วิธีการเล่าเรื่องทั้งสามขนานกันไป มีการตัดต่อสลับไปมา มีการเล่าเรื่องทั้งไปข้างหน้าและย้อนหลังแบบโดดไปโดดมาคล้าย The Social Network

ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมในการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างลูกเล่นของการเล่าเรื่องที่แปลกใหม่ และน่ายกย่องในความกล้าหาญที่จะฉีกขนบการเล่าเรื่องหนังให้แตกต่างจากหนังไทยด้วยกัน แต่อย่างไรก็ดี ผู้กำกับก้องเกียรติยังใช้การเล่าเรื่องที่แปลกใหม่เหล่านี้ได้ยังไม่ลงตัวดีพอ โดยเฉพาะช่วงหนึ่งชั่วโมงแรกของหนัง ทั้งนี้เพราะทั้งสามวิธีการเล่าเรื่องเหมือนจะมีเรื่องราวของมันเอง และหนังเล่าเรื่องโดยให้ความสัมพันธ์ของทั้งสามส่วนเกือบเท่าๆกัน มีการให้รายละเอียดที่ยิบย่อยเกินไป ทำให้มาชิงความเด่นของกันและกัน และฉุดรั้งไม่ให้อารมณ์ดราม่าของหนังในช่วงนี้ไปได้สุดทาง แม้ว่ามันจะดูเก๋ไก๋ก็ตาม อันธพาน คลองเมือง 2555

 

รีวิวหนังไทย อันธพาล

 

เมื่อเข้าสู่ครึ่งหลังของหนังที่หลังจากจ๊อด เฮาดี้พ้นโทษออกจากคุกหลังจากการปราบปรามอันธพาลด้วยกฎหมายอันเฉียบขาดของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หนังมีวิธีการเล่าเรื่องที่ลงตัวมากขึ้น และทำให้ความเข้มข้นตามแบบหนังแก๊งสเตอร์กลับมาน่าติดตามมากขึ้น หนังลดทอนส่วนที่เป็นสารคดีให้มาเป็นเพียงส่วนเสริมจริงๆ มากขึ้น ขณะที่ส่วนที่เป็นมุมมองของเปี๊ยกก็ค่อยๆ ลดหน้าที่ลงกลายเป็นการทำหน้าที่ของโครงเรื่องรองแทน

เรื่องราวครึ่งหลังเน้นไปที่การแย่งชิงความเป็นใหญ่ของมาเฟีย โดยแต่ละเจ้าพ่อก็มีนักเลงเด่นๆเป็นลูกน้องของตัวเอง จ๊อดยังคงเป็นหมากในเกมชิงอำนาจของเฮียหลอ โดยมีเปี๊ยก, ธง, และน้าหำ (บุญส่ง นาคภู่) เป็นลูกน้อง แล้วกลายเป็นม้าศึกที่จะถูกฆ่าหลังเลิกใช้เมื่อเฮียหลอหันไปเลือกใช้โอวตี่ (ภคชนก์ โวอ่อนศรี) นักเลงนักฆ่าที่ทั้งบ้า ทั้งเหี้ยมโหด เป็นหมากตัวใหม่ ทำให้แก๊งของจ๊อดต้องแตกคอกัน ขณะเดียวกัน จ๊อดก็ต้องหนีการตามล่าของผู้การคำนึง (วสุ แสงสิงแก้ว) ผู้ที่ไม่เคยคำนึงถึงวิธีในการปราบมาเฟีย และสะท้อนด้านมืดของผู้มีอำนาจทางกฎหมาย ทำพาไปสู่ฉากตามล่าล้างแค้นในตอนจบที่ทั้งตื่นเต้น ลุ้น และสะเทือนใจ

 

รีวิวหนังไทย อันธพาล

องค์ประกอบที่ควรได้รับการยกย่องอีกอย่างของหนังก็คือองค์ประกอบด้านศิลป์ ทั้งการสร้างฉาก การกำกับศิลป์ การออกแบบเครื่องแต่งกายและทรงผม งานเทคนิคภาพ และดนตรีประกอบ ที่ช่วยเนรมิตรพระนครยุค 60-70 ได้อย่างเนียบจนเหมือนพาเราหลุดเข้าสู่ยุคนั้นไปด้วยได้เลย ทั้งยังเสริมโทนดิบเถื่อนและรุนแรงอันเป็นลายเซ็นเฉพาะตัวของผู้กำกับก้องเกียรติให้เด่นชัดยิ่งขึ้น

นักแสดงทุกคนทำหน้าที่ได้อยู่ในเกณฑ์พอใช้และดีมาก แต่ที่โดดเด่นเป็นพิเศษคือบุญส่ง นาคภู่ เป็นบทน้าหำ นักเลงเก่าขี้คุยผู้ที่อยากหลุดพ้นจากเส้นทางนักเลงไปใช้ชีวิตเหมือนผู้คนทั่วไป เป็นบทที่ทั้งดูเป็นธรรมชาติเหมือนคนที่เราเคยเห็นว่ามีอยู่จริง และบางขณะก็ทรงพลัง ส่วนกฤษดา สุโกศล แคลมป์ ก็ยอดเยี่ยมในการสร้างบุคลิกของจ๊อดให้ดูเป็นปุถุชนทั่วไป และมีเสน่ห์ขึ้นจอ พาให้ชวนติดตามหนัง

 

 

“อันธพาล” อาจไม่ใช่หนังที่ดีพร้อมหรือสมบูรณ์แบบเต็มร้อย แต่เป็นหนังที่มีองค์ประกอบทุกส่วนของงานสร้างดีเลิศ และมีความพยายามอันน่าชื่นชมของผู้กำกับก้องเกียรติในการสร้างหนังเรื่องนี้ให้มีลูกเล่นที่แปลกแตกต่าง มีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเพียงแค่นี้ก็เป็นเหตุผลพอให้นักดูหนังควรให้การสนับสนุนหนังเรื่องนี้ครับ นางเอก หนัง อันธพาล

นักแสดงทุกคนทำหน้าที่ได้อยู่ในเกณฑ์พอใช้และดีมาก แต่ที่โดดเด่นเป็นพิเศษคือบุญส่ง นาคภู่ เป็นบทน้าหำ นักเลงเก่าขี้คุยผู้ที่อยากหลุดพ้นจากเส้นทางนักเลงไปใช้ชีวิตเหมือนผู้คนทั่วไป เป็นบทที่ทั้งดูเป็นธรรมชาติเหมือนคนที่เราเคยเห็นว่ามีอยู่จริง และบางขณะก็ทรงพลัง ส่วนกฤษดา สุโกศล แคลมป์ ก็ยอดเยี่ยมในการสร้างบุคลิกของจ๊อดให้ดูเป็นปุถุชนทั่วไป และมีเสน่ห์ขึ้นจอ พาให้ชวนติดตามหนัง

 

วิจารณ์เรื่อง อันธพาล

รีวิวหนังไทย อันธพาล โครงสร้าง โครงเรื่องแบบ Classical Design เป็นโครงเรื่องที่พบบ่อยที่สุดสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ชม ผู้ฟังในวงกว้างได้อย่างมากตัวละครเอกของเรื่องมักจะต่อสู้กับอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับชีวิต ตัวละครที่เป็นอุปสรรคของเค้าเองโดยการทำทุกวิธีทางให้ตัวเองเป็นผู้นำ เหตุการณ์ในเรื่องมักเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน ไปจนถึงบทสรุปตอบจบของต่ละฝ่าย ในชีวิตระหว่างกลุ่มวัยรุ่น ที่ทำให้ชีวิตของแต่ละคนเปลี่ยนไป

ความขัดแย้ง ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง ความขัดแย้งเช่นนี้พบบ่อยที่พระเอกจะเป็นฮีโร่โดย พระเอกจะออกแนวบุคลิกที่เรียกว่าใจเย็นมีน้ำใจกว่า เปรียบเหมือนเป็นฝ่ายธรรมะ ไม่ต่อยหาเรื่องใครก่อน ส่วนเพื่อน อีกฝ้านเปรียบเหมือนฝ่าย อธรรม ที่ชอบทะเลาะวิวาท หาเรื่องคนไปทั่ว

ตัวละคร อัน ต พา ร คลอง เมือง 2012 นักแสดง ตัวละครมีบุคลิกกลม ( Round Character ) เป็นตัวละครที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่ในตัว มีความลึกซึ้งและเข้าใจได้ยากกว่าตัวละครที่มีบุคลิกแบน มีลักษณะคล้ายชีวิตจริงของคนในสังคม เพราะพระเอก จะรักเพื่อนมาก ช่วยเหลือเพื่อน พิชิตพาล อภิบาลคนดี แต่ในอีกมุมนึงบางครั้งก้อ ลืมคนรักของเค้าไปชั่วคณะ แต่เค้าก็รักและเคารพแม่ ถึงแม้จะมีเหตุการทะเลาะวิวาทอยู่บ่อยครั้ง

 

 

แก่นเรื่อง เป็นแก่นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิต มุ่งนำเสนอเรื่องจริงของชีวิต ประสปการณ์การณ์ธรรมชาติ ของมนุษย์ และจุดจบของความเป็นนักเลง และ อันธพาล

ฉาก ตรอกไบเลย์ ย่านพระนคร หรือ กรุงเทพ ในปัจจุบัน และ เพราะ ที่อยู่อาศัยของพระเอก และเพื่อนๆของเค้าอยู่ย่านนั้นกันหมด และ มีฉากที่อู่ตะเภาด้วย เพราะ พระเอก หรือ แดง และพวกเพื่อนๆ ถูก รัฐบาล สั่งจับตาย

สัญลักษณ์พิเศษ มีการใช้สัญลักษณ์พิเศษทางภาพ คือ ล๊อกเกต เจมส์ดีน ของพระเอกกับนางเอก เพลง Elvis Presley ที่เปิดประกอบฉาก และ น้ำยี่ห้อ ไบเลย์ และปืนคู่กายของพระเอก และ กางเกงยีน Wrangler ที่นิยมกันในสมัยนั้น ดูหนังออนไลน์

มุมมองในการเล่าเรื่อง มีการเล่าเรื่องผ่านมุมมองของบุคคลที่ 3 โดยการเล่าเรื่องผู้เล่าเป็นเพื่อนสนิทของพระเอก จะเป็นผู้ดำเนินเรื่อง เล่าเรื่อง ชีวิตวัยโก๋ เพราะบุคคลผู้เลานสี้ เป็นคนสนิทของพระเอกในเรื่อง

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *