รีวิว มหาลัยเหมืองแร่

รีวิว มหาลัยเหมืองแร่

รีวิว มหาลัยเหมืองแร่

 

 

รีวิวหนังไทย ด้วยคำสั่งของบิดา ของเขา คนหนุ่มคนนี้ จึงตัดสินใจ นั่งรถฝ่าดงโคลนที่ชื้นแฉะจนทำรถติดหล่ม ผ่านพื้นที่แสนทุรกันดาร เข้าไปยังเหมืองแร่ห่างไกลความเจริญ ที่ อ.กระโสม จ.พังงา เพื่อหวังหางานทำเป็นบทเรียนชีวิต

ในช่วงเวลา 3 ปีกว่า เกือบ 4 ปี เขาได้เรียนรู้วิถีชีวิตที่แตกต่างจากที่เขาเคยรู้จักอย่างสิ้นเชิง จาก ‘คนเมือง’ ลูกข้าราชการในกรุงเทพ ต้องพลิกผันมาเป็น ‘คนเหมือง’ เป็นกรรมกรใช้แรงงานแลกค่าแรงจากนายฝรั่งวันละไม่กี่บาท ใช้ชีวิตแบบหาเช้ากินค่ำไปวันๆแบบไม่ต้องคิดถึงอนาคตมากนัก สปอยหนัง

รีวิว มหาลัยเหมืองแร่

อาจกล่าวได้ว่า เหมืองแร่กระโสมในฉากหลังเปื้อนควันสีน้ำตาลอ่อน ภายใต้แสงส้มของดวงตะวันยามเย็นและไฟเหลืองที่ห้อยอยู่ตามหลังคาเรือขุด เป็นมหา’ลัยชีวิตของอาจินต์ ปัญจพรรค์ คนหนุ่มผู้นี้ ที่นี่ เขาได้เรียนรู้ทักษะชีวิตมากมายที่ในมหาวิทยาลัยไม่มีวันสอนเขาได้

มหา’ลัยแห่งชีวิต
ในปีแรกเขายังปรับตัวไม่ได้ แม้แต่จะหุงข้าวกินเองก็ยังทำไม่เป็นจนกลิ่นน้ำมันก๊าดซึมเข้าข้าวไปหมด ต้องอาศัยแกงจืดจากลุงแถวบ้านประทังชีวิต แม้รสชาติไม่อร่อยแต่บรรยากาศที่ได้นั่งซดน้ำแกงอยู่ใต้เพิงหมาแหงนพอให้คลายความคิดถึงบ้านลงได้บ้าง

รีวิว มหาลัยเหมืองแร่

แรกเริ่มเขาเป็นเพียงกรรมกรช่วยงานทั่วไปในเรือขุด ความรู้จากคณะวิศวะบวกกับการเป็นคนหนุ่มทำให้เขามั่นใจในตัวเองเสียหนักหนา แต่การณ์กลับกลายเป็นว่า แค่สั่งน็อตมาซ่อมเรือขุดเขายังเขียนรายการผิด ความไม่มีประสบการณ์ทำให้เขาต้องตั้งใจอย่างจดจ่อ เรียนรู้จากคนอื่นๆที่แม้ระดับการศึกษาต่ำกว่าเขา แต่ก็ชินและช่ำของในงาน เรือขุดนี้มีพี่จอน ฝรั่งที่พูดสำเนียงใต้ไฟแล่บเป็นนายหัวเรือขุด หนังไม่ได้บอกว่าพี่จอนมาจากไหน รู้แต่ว่าแกเป็นคนสู้งานและคุมทุกคนได้อยู่ แกมีพรรคพวกที่คอยเดินตามเมื่อตรวจเรือขุด และดูเหมือนว่าเหมืองนี้เป็นเลือดเนื้อและชีวิตแก เว็บดูหนัง เว็บดูหนังฟรี

รีวิว มหาลัยเหมืองแร่

รีวิว มหาลัยเหมืองแร่

วันหนึ่งเจ้านายฝรั่งให้อาจินต์คอยจับตามองขโมยที่จะมาขโมยแร่ที่เหมือง แม่อาจินต์เฝ้าอยู่ เขากลับเห็นพี่จอนกับพรรคพวกมาขนแร่ไป อาจินต์โกรธจัด เทศนาทุกคนว่าแร่นี้เป็นของนายฝรั่ง เพราะเครื่องมือเครื่องจักรและค่าแรงทุกอย่างเป็นของนาย แต่คนขนแร่กลับตอกกลับมาว่าแร่นี้อยู่ในแผ่นดินไทย ไม่สมควรให้ฝรั่งมาเอาไป ความขัดแย้งก่อตัวขึ้นชัดในใจอาจินต์เสียจนเขาเดินไปลาออกในวันรุ่งขึ้น หารู้ไม่ว่าเขาจะได้เรียนรู้อะไรบางอย่างจากบทเรียนนี้

 

เมื่อกร้านขวบวัยมากขึ้น อาจินต์ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นคนทำแผนที่ เขาได้ลูกมือมาช่วยคนหนึ่ง คือไอ้ไข่ ผู้ซึ่งยิ้มแย้มตลอดเวลาและมีนิสัยเหมือนเด็ก อาจินต์เล่าว่าเขาและไอ้ไข่แชร์วิถีประชาธิปไตยกันอยู่ เพราะตอนเช้าเขาจะเป็นคนเดินตัวปลิวไปเขียนแผนที่ แต่ตอนเย็นไอ้ไข่จะเป็นคนเดินมือเปล่านำหน้าไปก่อน ด้วยเหตุผลว่า ‘เลิกงานแล้ว’ ไอ้ไข่กลายมาเป็นเพื่อนสนิทที่นั่งท้ายรถกระบะลุยโคลนไปกับเขา แหวกพงหญ้าเข้าไปวางไม้วัดพื้นที่ และยังเป็นเพื่อนในวงเหล้ายามเหงา น่าสังเกตว่าเหล้าเป็นสิ่งเชื่อมสายใยของคนในเหมืองที่เป็นผู้ชายล้วนได้อย่างดี แม้กระทั่งนายฝรั่งเองก็ยังดื่มจัดและตั้งวงกับคนงาน พอเมาก็เอาเงินมาแจกเด็กชาวบ้านแถวนั้นไปซื้อเสื้อผ้า วิถีแบบลูกผู้ชายไหลเวียนอยู่ในสายเลือดที่มีแอลกอฮอล์ไหลเวียนอยู่ในนั้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

รีวิว มหาลัยเหมืองแร่

มุมมองชนชั้นกลางที่ไม่ใช่กรรมกรจริง

ในภาพรวม หนังมหา’ลัยเหมืองแร่ให้ภาพเกี่ยวกับโลกการทำงานของชนชั้นกรรมาชีพได้อย่างโรแมนติก เล่าด้วยเหตุการณ์สั้นๆที่จบในตัวเองหลายเหตุการณ์ เพราะตัวหนังสร้างจากเรื่องสั้นชุด ‘เหมืองแร่’ ที่เป็นประสบการณ์จริงของอาจินต์ ปัญจพรรค์ ศิลปินแห่งชาติ แต่ในความโรแมนติกนั้น ถ้าเรามองทะลุไป เราจะเห็นความแร้นแค้นในชีวิตกรรมกร อาจินต์นั้นแทบไม่เหลือเงินสักบาทตอนเขาออกจากเหมืองแร่ เพราะเอาเงินไปซื้อเหล้าหมดแล้ว กรรมกรคนอื่นก็ระหกระเหินไม่ต่างกันเมื่อเหมืองแร่ปิด และต้องใช้ชีวิตแบบไม่รู้อนาคตและไม่รู้จะได้กลับมาเจอกันเมื่อใด ในความโรแมนติกที่เล่าจากสายตาชนชั้นกลางของอาจินต์ เราจะเห็นแง่ที่ไม่งามของมันได้จากคำขอของนายฝรั่งที่ให้อาจินต์สัญญาว่าจะไม่มาใช้ชีวิตแบบนี้อีก พร้อมซื้อตั๋วเครื่องบินให้เขากลับกรุงเทพ เมื่อลองคิดดูแล้ว หากอาจินต์เป็นเพียงกรรมกรคนหนึ่งที่มีฐานะเท่าๆกับกรรมกรคนอื่นๆที่เหมือง เขาอาจไม่ได้มองเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องโรแมนติกแบบ Good Old Day ก็ได้ เพราะเขาไม่มีตาข่ายกันตกที่ชื่อว่าครอบครัวเช่นชนชั้นกลางแบบอาจินต์ – อาจินต์ที่เป็นชนชั้นกลางนั้นมีบ้านให้กลับไปเสมอ และที่บ้านพร้อมจะให้การสนับสนุนเขาแม้เขาจะไม่มีงาน แต่กรรมกรทั่วไปไม่ได้เช่นนั้น พวกเขาไม่รู้ว่าจะหางานได้อีกไหม และจะมีข้าวตกถึงท้องอีกเมื่อใด คงไม่มีใครมีอารมณ์มาเขียนเรื่องเล่าชุดที่ตีพิมพ์จนขายดีแบบอาจินต์ได้

ในแง่หนึ่ง มหา’ลัยเหมืองแร่ และเรื่องสั้นชุดเหมืองแร่ ที่กำกับและเขียนโดยชนชั้นกลาง จึงเป็นแค่การมองไปที่โลกของกรรมกรอย่างคนที่อยู่ข้างนอก ที่มาลิ้มรสความลำบากเพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น เมื่อออกมาจากโลกแห่งนั้น เขาก็ยังมีที่ให้ไปต่อ ด้วยต้นทุนทางสังคมและการศึกษาที่มากกว่า ตัวเนื้อเรื่องไม่ได้ผลักดันให้เกิดความเท่าเทียมทางชนชั้นมากขึ้น เพราะยังคงมองชีวิตกรรมาชีพเป็นสิ่งแปลกใหม่ น่าพิศวง (Exotic) เพราะแตกต่างจากชีวิตคนเมือง อย่างไรก็ตาม หนังก็ได้ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ในการให้ความบันเทิงและตอบกลุ่มคนดูชนชั้นกลางได้ดี จนได้รับรางวัลหลายรางวัล และได้ขึ้นทำเนียบหนึ่งในหนังไทยที่ดีที่สุด

สามารถรับชมมหา’ลัยเหมืองแร่ได้แล้ววันนี้ทาง Netflix

 

มหา’ลัย เหมืองแร่ ดัดแปลงมาจากเรื่องราวชีวิตจริงของ คุณ อาจินต์ ปัญจพรรค์… ในปี พ.ศ. 2492 อาจินต์ วัย 22 ปี นิสิตชั้นปีที่สองจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถูกรีไทร์ออกจากมหาวิทยาลัย เขาได้เดินทางลงใต้ มุ่งหน้าไปทำงานที่เหมืองกระโสม ตำบลกระโสม อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ในยุครุ่งเรืองของเหมืองดีบุกในประเทศไทย

4 ปี ณ ที่แห่งนี้ ไม่มีความสะดวกสบาย ทว่าสิ่งที่อาจินต์ได้รับกลับเป็นบทเรียนที่ไม่สามารถหาได้จากมหาวิทยาลัย หลายสิ่งเป็นวิถีนามธรรมที่ไม่สามารถจับต้องได้ แต่ก็ล้ำค่าจนเขาสามารถนำไปใช้ได้ตลอดชีวิต…
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
มหา’ลัย เหมืองแร่ (Official Trailer)

มหา’ลัย เหมืองแร่: มหา’ลัยที่สอนให้รู้จักกับ ‘มิตรภาพ’ และ ‘รสชาติของชีวิต’

” กินอย่าอาย ตายอย่ากลัว ยากช่างหัว ตายปลด ”

“มหา’ลัย เหมืองแร่” เป็นหนังที่อบอุ่น นุ่มลึก เชื่อว่าใครหลายคนดูแล้ว ก็ต้องหลงรัก หากให้เลือก Genre ให้กับหนังมหา’ลัย เหมืองแร่ ก็คงถูกจัดอยู่ในแนว ‘Drama – Coming of Age’ ที่เล่าถึงการก้าวผ่านพ้นวัยของอาจินต์ สภาพก่อนและหลังจากที่อาจินต์มาอยู่เหมืองกระโสม เขาได้ก้าวข้ามบางอย่าง ทั้งปมในชีวิต และความสับสนของช่วงวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ พร้อมกับการเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต

ที่เหมืองกระโสม อาจินต์ได้สัมผัสกับประสบการณ์ชีวิต ได้รู้จักกับความรับผิดชอบ ความอดทน ความเป็นมืออาชีพในการทำงาน ความอบอุ่น และความจริงใจ

ที่สำคัญเขาได้เรียนรู้ถึง ‘มิตรภาพ’, ‘บทพิสูจน์จิตวิญญาณของลูกผู้ชาย’, ‘รสชาติชีวิตอันเข้มข้น’ และ ‘สัจธรรมชีวิต’ ซึ่งหาไม่ได้จากมหาวิทยาลัย หนังฟรี หนังใหม่

ความรู้สึกส่วนตัว 

 

ระหว่างรับชม เราจะได้สัมผัสบรรยากาศอันสมจริงของการทำงานในเหมืองแร่ – เรือขุดแร่ ว่าสภาพการทำงานเป็นอย่างไร… ในปี 2492 สภาพถนนยังไม่ดี (ตัวเหมืองยังอยู่ในป่าอีกด้วย) สภาพอากาศทางใต้ฝนตกชุก ทำให้ทุกที่ต่างเต็มไปด้วยโคลนเหนอะหนะ หลายๆ คนอาจจะจินตนาการสภาพการทำงานไม่ออก ยิ่งในปัจจุบัน ยุครุ่งเรืองของเหมืองแร่ดีบุกก็หมดไปจากประเทศไทยแล้ว… มหา’ลัย เหมืองแร่ ช่วยให้เราเห็นภาพเก่าในอดีตได้อย่างแจ่มชัดขึ้น เป็นอีกหนึ่งจดหมายเหตุทางประวัติศาสตร์ที่บันทึกเรื่องราวเหล่านั้นเอาไว้

ในแง่ภาพยนตร์ ถือว่าหนังทำออกมาได้ดี ด้วย Character แบบภาพยนตร์ GTH ยุคเก่า ไม่หวือหวา โทนไปทางดราม่า ส่วนตัวคิดว่า ภาพรวมหนังอาจจะไม่ได้อยู่ในระดับที่เรียกว่าสมบูรณ์อย่างหนังต่างประเทศในเวทีดังๆ เช่น บางส่วนของเรื่องยังเชื่อมโยงไม่เนียน หรือนักแสดงยังแสดงไม่เป็นธรรมชาติมาก (แต่ให้ความรู้สึกสมจริงกับบรรยากาศดี)

ที่หนังทำได้น่าประทับใจที่สุดคือ การสร้าง Impact ให้ผู้ชมมีประสบการณ์ร่วมได้อย่างแนบแน่น และถ่ายทอดแก่นเรื่องออกมาได้อย่างชัดเจน สละสลวย จริงใจ… นี่เป็นจุดสำคัญที่ทำให้ ‘มหา’ลัย เหมืองแร่’ ยังอยู่ในใจของทุกคนเสมอมา

พิชญะ วัชจิตพันธ์ ผู้รับบท ‘อาจินต์’

น่าเสียดายว่า ในปี 2548 ที่ภาพยนตร์ออกฉาย ปรากฏว่าภาพยนตร์ขาดทุนอย่างหนัก จากงบประมาณกว่า 70 ล้านบาท ทำรายได้ไปเพียง 30 ล้านบาท แต่ในแง่คำวิจารณ์ ได้รับคำวิจารณ์ยอดเยี่ยม คว้ารางวัลใหญ่ภายในประเทศไปได้หลายสถาบัน ทั้งรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จาก สุพรรณหงส์ ชมรมวิจารณ์บันเทิง สตาร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ อวอร์ดส์ และ คม ชัด ลึก อวอร์ด นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลสำคัญหลายรางวัล จาก เฉลิมไทย อวอร์ด และStarpics Thai Films Awards

มหา’ลัย เหมืองแร่ ยังได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนภาพยนตร์ไทยไปเข้าแข่งขันชิงรางวัลภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยมในเวทีออสการ์ ส่วนในระดับเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ มหาลัย’ เหมืองแร่ ก็ได้รับคัดเลือกให้ไปฉายในหลายเทศกาลเช่น Pusan International Film Festival (2005), Hong kong – Asia Film Financing Forum (HAF) (2005), Palm Springs International Film Festival (2006) – California, USA

ในปี พ.ศ. 2556 มหา’ลัย เหมืองแร่ ได้รับเลือกให้เป็นภาพยนตร์ไทย 1 ใน 25 เรื่องที่ได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 3 โดยหอภาพยนตร์แห่งชาติ (แหล่งอ้างอิง)

หลังจากผ่านยุคนี้ไปแล้ว ก็ไม่เคยเจอหนังจาก GTH ที่ทำออกมาในแนวนี้อีกเลย แนวหนังที่ค่อนไปทางสายรางวัล (ในฉบับของ GTH)… หลักๆ คิดว่าก็คงมาจากรสนิยมของผู้ชมในประเทศที่ไม่ได้ตอบรับภาพยนตร์แนวนี้มากนัก หนังที่ดูไม่ง่าย แต่นุ่มลึก ให้ความหวังและกำลังใจแก่ทุกคน

” เกียรติของคนต้องขุดเอง ” ดูหนังฟรี ดูหนังออนไลน์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *