รีวิว เมย์ไหน…ไฟแรงเฟร่อ

รีวิว เมย์ไหน...ไฟแรงเฟร่อ

รีวิว เมย์ไหน…ไฟแรงเฟร่อ

 

 

รีวิวหนังไทย ตอนแรกที่เห็นโปสเตอร์หน้า ของหนัง เรื่อง เมย์ไหน ไฟแรงเฟร่อ ความรู้สึกคือ หนังดูติ๊งต๊อง ไม่ค่อยน่าดูสักเท่าไหร่ และดูขายเฉพาะกลุ่ม พูดตรงๆ ก็คือมันดูไม่แพงเอาเสียเลย และน่าจะเป็นหนังแนวเน้นขายดารามากกว่า แต่พอ GTH ปล่อยตัวอย่างเต็มๆ และคลิปฐานันดรออกมาให้ดู เออ ปรากฏว่าข้างในมันดูมีอะไรและน่าสนใจกว่าที่คิด หนังไทยnetflix

 

รีวิว เมย์ไหน...ไฟแรงเฟร่อ

บางทีมันอาจจะจริงอย่างที่เขาว่า Don’t judge a movie by its poster. ดังนั้นเราต้องไปพิสูจน์เอง

เรื่องย่อ เมย์ไหน ไฟแรงเฟร่อ
ป๋อง (แบงค์-ธิติ) แบ่งนักเรียนในโรงเรียนเป็นฐานันดรต่างๆ คือ คนทั่วไป, อันธพาล, เด็กเนิร์ด, นักกีฬา, คนหน้าตาดี, และนักกิจกรรมตัวท็อป โดยจัดตัวเองเป็นบุคคลผู้ไม่มีฐานันดร ไร้ตัวตน ไม่มีคนสนใจ แต่คนไม่มีศักดิ์อย่างป๋องก็ดันไปแอบชอบมิ้ง (ฟรัง-นรีกุล) นักกิจกรรมตัวท็อป ว่าที่ประธานสีคนต่อไป ทั้งที่เธอไม่เคยเหลียวแลเขาเลย

จนวันนึงป๋องได้รู้จักกับเมย์ไหน (ปันปัน-สุทัตตา) ผู้หญิงเก็บตัว ไม่เข้าสังคม และไม่มีฐานันดรเช่นเดียวกับเขาป๋องล่วงรู้ความลับของเมย์ไหนว่าเธอแอบชอบพี่เฟม (ต่อ-ธนภพ) สุดฮอต ผู้เป็นทั้งนักกีฬา หน้าตาดี และประธานสี แล้วป๋องยังรู้อีกว่า เมย์ไหนเลือกที่จะไร้ตัวตนเพราะเธออยู่กับใครไม่ค่อยได้ ร่างกายของเธอจะปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมาเหมือนปลาไหลไฟฟ้าทุกทีที่เหนื่อย ตื่นเต้น หรือตกใจ

ทั้งสองตกลงเป็นเพื่อนกัน รักษาความลับของกันและกัน ค่อยๆ สนิทกัน และช่วยกันจีบมิ้ง-เฟมตัวท็อปของโรงเรียนอย่างลับๆ

รีวิว เมย์ไหน...ไฟแรงเฟร่อ

รีวิว วิเคราะห์ วิจารณ์ เมย์ไหน ไฟแรงเฟร่อ
หมู ชยนพ ผู้กำกับ “SuckSeed ห่วยขั้นเทพ” กลับมานำเสนอชีวิต loser / underdog ของเด็กวัยรุ่นม.ปลายอีกครั้ง โดยเอาความเป็นหนัง GTH มาผสมผสานกับอะนิเมะแบบที่เขาชอบ (นี่บางทีก็สงสัยว่า เมย์ไหน ไฟแรงเฟร่อ นี่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากปลาไหลหรือปิกาจู)

เมย์ไหน ไฟแรงเฟร่อ เป็นหนังวัยรุ่น rom-com ที่ไม่ใช่แค่โอเวอร์แอ็คติ้งตามสไตล์ GTH แต่ยังเพิ่มความเป็นการ์ตูนอะนิเมะแบบโอเฟร่อได้อีก แล้วซาวนด์ประกอบนี่ก็ไม่รู้จะเอาฮาไปไหน ในส่วนของมุกตลกอาจฮาบ้างไม่ฮาบ้าง ขึ้นอยู่กับอายุ วัย หรือประสบการณ์ส่วนบุคคล แต่ก็คลายเครียดได้อยู่

ในส่วนของความซึ้ง เราว่ามันก็ซึ้งนะ มีเสี่ยวบ้างไรบ้าง กระตุ้นต่อมมโนบ้างไรบ้าง แต่มันก็มีความโรแมนติกแบบน่ารักๆ แบบเด็กๆ ที่ชวนอมยิ้ม เออ โดยส่วนตัวเราชอบพาร์ทดราม่ามากกว่าพาร์ทตลก ถึงแม้มันจะดราม่าไม่ค่อยสุดเท่าไหร่ เพราะแม่งชอบตลกแทรก แต่โดยรวมก็สนุกดี

เสียดายก็แต่ประเด็นเรื่องฐานันดร และประเด็นเรื่องการพยายามมีตัวตน (ไหนๆ ก็ชื่อหนังว่า “เมย์ไหนฯ” อะ เก๊ตปะ) ที่น่าจะทำให้สุดควบคู่ไปกับความตลกโปกฮาและรักโรแมนติกกุ๊กกิ๊กไปด้วยซะหน่อย นี่อะไรไม่รู้ 80% เป็นมุก “อีไฟช็อต”

เว็บดูหนัง เว็บดูหนังฟรี

รีวิว เมย์ไหน…ไฟแรงเฟร่อ

รีวิว เมย์ไหน...ไฟแรงเฟร่อ

ตอนปล่อยโฆษณาโปรโมต หนังทำท่าทางเหมือนจะเน้นประเด็นเรื่องฐานันดรในโรงเรียน และช่วงฉากเปิดของหนังก็ยังเปิดด้วยการแนะนำฐานันดรต่างๆ ในโรงเรียน เช่น พวกอันธพาล, เด็กเนิร์ด, นักกีฬา, คนหน้าตาดี, นักกิจกรรมตัวท็อป, จนไปถึงกลุ่มจัณฑาลผู้ไร้ตัวตน แต่สุดท้ายแล้วหนังก็ไม่ได้เน้นให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าวให้สุด

80% ของหนังแทบไม่เน้นการนำเสนอเรื่องฐานันดรเท่าไหร่ ก็นั่นแหละ ไปเน้นเอาฮาและเน้นเอาฉากกุ๊กกิ๊กตามประสา จนกระทั่งกลับมาโผล่อีกทีก็ช่วงท้ายๆ เรื่อง ซึ่งเหมือนจู่ๆ ก็วกกลับมา และยังดูมีความพยายามมากเกินไปจนดูขาดความเป็นธรรมชาติ เช่น การเล่นคำระหว่างคำว่า ฐานันดร “ศักดิ์” กับ “ศักย์” ไฟฟ้า แต่จริงๆ ก็ไม่คิดอะไรมาก เพราะหนังมันเซอร์เรียลตั้งแต่แรกอยู่แล้ว

 

เช่นเดียวกับการ์ตูนสั้นหลายเรื่อง ตัวละครส่วนใหญ่ค่อนข้างแบนราบและมีคาแรกเตอร์แบบการ์ตู๊นการ์ตูน (ตามความตั้งใจของผู้กำกับนั่นแหละ) อย่างเช่น เมย์ลีด (ต้าเหนิง กัญญาวีร์) และเดอะแก๊ง (แพรว นฤภรกมล) นี่ดูสวยใสไร้สมอง แถมยังชอบใช้กำลังและเล่นพรรคเล่นพวก แต่เราก็ชอบนะ คาแรกเตอร์ชัดดี ตลกดี มีมุกเป็นของตัวเอง ดูดีมีซิกเนเจอร์

มีติดใจตรงคาแรกเตอร์ (และหน้าตา) ของป๋องนิดหน่อย หน้าตาก็ดี๊ดี บุคลิกนิสัยก็ดูเป็นคนปกติและเฟรนด์ลี่ดี แต่ทำไม้ทำไมถึงกลายเป็นคนไร้ตัวตนไปซะได้ก็ไม่รู้ (แต่ก็เข้าใจนะ ถ้าป๋องจืดกว่านี้ หนังก็คงไม่สนุกแบบนี้)

อย่างไรก็ตาม เราชื่นชมที่เด็กๆ นักแสดงนำแสดงได้ดีมีพัฒนาการ ถึงแม้ในภาพรวม เราจะยังสลัดภาพ “ฮอร์โมนส์” ของพวกเขาออกได้ไม่หมด 100% แต่ก็เห็นได้ชัดว่าทุกคนมีความตั้งใจเกินร้อย และทำได้ดีตามบทบาทที่ได้รับมอบหมาย

อย่างปันปันนี่ไม่ค่อยสงสัย นางเล่นหนังเก่งมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว แต่แบงค์กับต่อนี่ค่อนข้างเซอร์ไพรส์เรา แบงค์แสดงดีเกินคาด ในเรื่องนี้ได้เห็นแล้วว่าน้องคนนี้ “เล่นตลกก็ได้ เล่นดราม่าก็ถึง” อนาคตไกลได้อีก ส่วนต่อในเรื่องนี้นี่เวรี่หล่อเกาหลีออร่าพุ่ง 4×100 เมตร ที่สำคัญต่อเล่นบ้าๆ บอๆ ชนิดไม่ห่วงหล่อเลยทีเดียว คนละเรื่องกับไผ่-ฮอร์โมนส์เลย

บทของพี่เฟม (ต่อ-ธนภพ) เป็นตัวแทนของฐานันดรคนหน้าตาดี ที่บ่งชี้ให้เห็นว่า ถ้าเกิดมารูปร่างหน้าตาดี ทำอะไรก็ดูดี ป็อปปูล่าร์ ไปไหนมาไหนก็เหมือนมีสปอตไลท์ติดตามตัวเป็น GPS แถมยังมีอิทธิพลต่อคนฐานันดรอื่นอีก แล้วยิ่งถ้าหน้าตาดีแล้วยังมีความสามารถ เช่น เล่นกีฬาได้ ความหน้าตาดีนั้นก็จะเป็นบันไดให้เขาไปถึงจุดสูงสุดได้โดยใช้ความพยายามน้อยกว่าคนที่หน้าตาดีอย่างเดียวหรือมีความสามารถอย่างเดียว

ฐานันดรตัวท็อป เช่น บทของมิ้ง (ฟรัง-นรีกุล) เป็นกลุ่มนักเรียนที่มีพาวเวอร์ มีความเป็นผู้นำ และจริงจังกับการทำกิจกรรมมาก คนบางคนก็เหมือนเกิดมาเพื่ออยู่ในฐานันดรนี้โดยกำเนิด แต่ในขณะเดียวกัน ตัวท็อปบางคนก็เป็นแค่คนธรรมดาที่ต้องพยายามอย่างหนักเพื่อจะได้มีจุดยืน มีตัวตนในโรงเรียน หรืออยู่ในสายตาของใครสักคนบ้าง ทั้งๆ ที่ที่จริงแล้ว เขาอาจจะไม่ได้อยากมาเหนื่อยหรือรับผิดชอบอะไรหนักหนาขนาดนี้เลยก็ได้

ฐานันดรเด็กเนิร์ด มีสัญลักษณ์ประจำตัวคือแว่นและตำรา เนิร์ดจริงๆ มีหลายระดับ หนักหน่อยคือเรียนเอาเป็นเอาตาย เลิกเรียนก็ไปเรียนพิเศษ จะทำอะไรก็ต้องเอาเกรดมาล่อ ไม่สนใจกิจกรรม ไม่สนใจวิชายิบย่อย เช่น ศิลปะ งานไม้ งานประดิษฐ์ หรือวิชาใดใดที่ไม่ใช่เชิงวิชาการหรือไม่เกี่ยวกับเป้าหมายในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในฝันของพวกเขาโดยตรง

ส่วนคนชายขอบหรือบุคคลไร้ศักดินา มีสองประเภทย่อยใหญ่ๆ ได้แก่ คนที่สังคมไม่ยอมรับ ไม่ให้ความสำคัญ ไม่เห็นค่า อย่างเช่น บทของป๋อง (แบงค์-ธิติ) กับ คนที่พิเศษ แปลกแยก แตกต่างจากคนทั่วไป เช่น เมย์ไหน (ปันปัน-สุทัตตา) แล้วคนกลุ่มนี้จะมีความแปลกตรงที่ ส่วนใหญ่แล้ว ถ้าไม่ชอบใครเลย ก็จะไปชอบตัวท็อปไปเลย หนังฟรี หนังใหม่

ความคิดส่วนตัว

เราคิดว่า การที่เราเห็นบุคคลไร้ตัวตนไปชอบบุคคลตัวท็อปไม่ใช่เรื่องแปลก และไม่ใช่ว่าเขาไม่เจียมเนื้อเจียมตัวเสมอไป เราคิดว่า บางทีคนพวกนี้ก็แค่กลัวการมีความรัก กลัวการไม่ยอมรับหรือการปฏิเสธซ้ำแล้วซ้ำอีก กลัวคนคนนั้นจะเข้ากับเขาไม่ได้อย่างที่เขาเข้ากับใครไม่ได้ ดังนั้นบางครั้งการแอบชอบและแอบมอง (คนที่เป็นไปไม่ได้) อยู่ข้างเดียวที่มุมมุมหนึ่ง ก็เป็นการสร้างเกราะป้องกันตัวเองจากความผิดหวังอย่างหนึ่ง และขณะเดียวกัน ก็ยังมีความสุขกับการแอบรักไปได้ด้วยเช่นกัน

เพราะคนบางคนจะรู้สึกว่าตัวเองมีค่าก็ต่อเมื่อเขาได้รักใครสักคน เช่นเดียวกับคนบางคนที่จะรู้สึกว่าตัวเองมีค่าก็ต่อเมื่อมีคนมารัก (ไม่ว่าจะรู้ตัวกันหรือไม่ก็ตาม) ซึ่งมันก็ไม่มีความรักแบบไหนดีกว่าแบบไหน ขึ้นอยู่ที่แต่ละคนว่าใครจะ value ตัวเองจากความรักแบบไหนมากกว่ากัน แต่ไม่ใช่ว่า พอคนที่เรารักเขาไม่รักเราตอบ เรารู้สึกตัวเองไม่มีค่าทันที รู้สึกที่ตัวเองทำมาทั้งหมดไร้ค่า อันนี้ไม่ใช่ละ… ปรับทัศนคติด่วน

ความรักเป็นเรื่องของคนสองคน ไม่ว่าอีกฝ่ายจะเป็นยังไง คนที่รักกันจริง เขาจะพยายามหาทางให้อยู่ด้วยกันได้เอง แต่ถ้ามีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่พยายาม หรือเลือกที่จะไป คำตอบมันก็ชัดเจนอยู่ในตัวมันเองอยู่แล้ว ซึ่งไม่มีใครผิดใครถูก มีแต่ใช่หรือไม่ใช่

วันนึง เราจะเจอคนที่รู้จักเราจริงทั้งข้อดีข้อเสียของเราแล้วเขายังรับเราได้และพยายามปรับตัวให้อยู่กับเราได้… เมื่อถึงวันนั้นแล้ว ก็อย่าปล่อยให้คนคนนั้นหลุดมือไปเป็นอันขาด เพราะเขามีค่า… เขาเห็นคุณค่าของเราและรักเราในแบบที่เราเป็น (แต่เอาจริงๆ นะ จริงๆ แล้ว ทุกคนล้วนมีค่ากันทั้งนั้นแหละ no matter what!)

ที่สำคัญ จำไว้ว่า สำหรับความรักก็ต้องพยายามและให้กันทั้งสองฝ่ายนะ ถ้าเป็นฝ่ายพยายามฝ่ายเดียว หรือให้อยู่ฝ่ายเดียว มันก็เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้หรอก ต่อให้พยายามเปลี่ยนแปลงตัวเอง หรือพลีกายถวายหัวทำอะไรเพื่อเขาขนาดไหน ไม่ว่าเขาจะรู้หรือไม่รู้ เห็นหรือไม่เห็น คนไม่ใช่ยังไงมันก็ไม่ใช่อยู่ดี

ส่วนคนฐานันดรสูงๆ อย่างพี่เฟมกับมิ้ง จะหันมาสนใจคนฐานันดรต่ำๆ หรือไม่นั้น อย่างที่เราก็เห็นกันถมเถไปในชีวิตจริงและละครหลังข่าว มันเป็นไปได้ ขึ้นอยู่กับคนฐานันดรสูงคนนั้นเขา value อะไรมากกว่ากัน ถ้าเขา value ชื่อเสียงเงินทองมากกว่าความรักความสุข เขาก็คงไม่หาเรื่องลดศักดินาตัวเองให้เหลือห้าไร่

แต่มันก็มีเหมือนกันนะ คนชั้นสูงที่เบื่อและชาชินกับแสงสีเสียงหรือการมีคนมานิยมชมชอบ แล้วพอเจอคนที่ไม่รู้จักเขา ไม่สนใจคลั่งไคล้เขา เขาจะไม่เข้าใจ เขาจะสนใจคนคนนั้นเป็นพิเศษ เขาจะรู้สึกว่าคนคนนี้น่าค้นหาและคงไม่ทำตัวน่ารำคาญใส่เขาแบบพวกติ่งชั้นต่ำ (นั่นไง ละครอีกละ)

ซึ่งทั้งนี้เราก็ต้องไปลุ้นกันต่อไปว่ารักหลายเส้าใน เมย์ไหน ไฟแรงเฟร่อ จะลงเอยอย่างไร พี่เฟมกับมิ้งจะหันมาสนใจเมย์ไหนกับป๋องหรือเปล่า แล้วจะรับตัวตนที่แท้จริงของพวกเขาได้หรือไม่… (สับสน เข้าใจยาก สมกับเป็น “วัยว้าวุ่น” จริงๆ)

ความรู้สึก… ก็มีหลายชั้น หลายระดับ เช่นเดียวกับฐานันดร บางทีมันอาจเป็นแค่ความปลื้ม ความชอบ ความคลั่งไคล้ ความพิศวาส หรือแค่ความรู้สึกดี… แต่มันไม่ใช่ “ความรัก” ซึ่งเราต้องค่อยๆ ไตร่ตรองดูให้ดี มันใช้วัตถุหรือพฤติกรรมภายนอกชี้วัดไม่ได้เสมอไปอย่างตอนแยกชั้นฐานันดร เนาะ… ดูหนังฟรี ดูหนังออนไลน์

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *