รีวิวหนัง บุพเพสันนิวาส 2

รีวิวหนัง บุพเพสันนิวาส 2

หนังไทยมาใหม่ สำหรับ บุพเพสันนิวาส ภาคแรก ที่เรื่องราวอยู่ในยุคสมเด็จพระนารายณ์ฯ แห่งกรุงอโยธยา เราค่อนข้างพึงพอใจ ในแง่การมอบความบันเทิงในครัวเรือนและการกระตุ้นซอฟต์พาวเวอร์ จนถือเป็นปรากฏการณ์ก็ว่าได้ แต่พอเอาละครขยับมาทำเป็นภาพยนตร์อย่าง บุพเพสันนิวาส ๒ เราไม่ค่อยซื้อสักเท่าไหร่ (เช่นเดียวกับนาคี 2) และก็คาดหวังว่ามาตรฐานมันจะขยับขึ้นตามและให้คุณค่าในแบบภาพยนตร์

บุพเพสันนิวาส ๒ ผลงานของผู้กำกับ ปิ๊ง อดิสรณ์ (ผู้กำกับ รถไฟฟ้า มาหานะเธอ) มีความยาวเกือบ 3 ชั่วโมง (อีกนิดจะเท่า Avengers) สำหรับเรา มันค่อนข้างยาวเกินความจำเป็น เพราะหนังอยากจะขายทั้งฉากเกี้ยวของคู่พระนาง และขายทั้งเรื่องประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นด้วย (ถ้าจะเรื่องเยอะแบบนี้ น่าจะเหมาะเป็นละครแบบภาคแรกมากกว่า)

สำหรับ บุพเพสันนิวาส ๒ คนดูไม่จำเป็นต้องดูภาคแรกมาก่อนก็สามารถดูรู้เรื่อง แต่ถ้าเคยดู ก็จะเข้าใจบริบทบางอย่างมากกว่า เช่น cameos และ มนต์กฤษณะกาลี อีกอย่างหนึ่ง หนังเรื่องนี้เหมือนเป็นเรื่องราวของหนุ่มตัวละครใหม่ แล้วพี่หมื่นกับแม่หญิงการะเกดที่กลับชาติมาเกิดนั้นมาเป็นตัวเสริมทัพของพ่อหนุ่มคนนั้นอีกทีเสียมากกว่า

 

 

รีวิวหนัง บุพเพสันนิวาส 2 หนังไทยมาใหม่

ในชาตินี้ ภพ หรือขุนสมบัติบดี (โป๊ป ธนวรรธน์) เป็นผู้เชื่อในบุพเพสันนิวาสและตามจีบ แม่หญิงเกสร (เบลล่า ราณี) เพราะรูปร่างหน้าตาเหมือนกับนางในฝันที่เขาฝันถึงทุกคืน แต่เกสรไม่เชื่อในบุพเพสันนิวาส เป็นผู้หญิงหัวก้าวหน้า ร่ำเรียนวิชากับบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ (โจนาธาน แซมซัน) รวมถึงภาษาอังกฤษ และพอเธอได้พบกับ เมธัส (ไอซ์ พาริส) เธอก็สนใจเขามากกว่า เพราะเมธัสหน้าฝรั่ง พูดภาษาอังกฤษได้ และใช้ภาษาแปลกเหมือนมาจากอนาคต

เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ไทยยุครัชกาลที่ 3 ที่ตัวละครเอกทั้งสามต้องเข้าไปพัวพัน คือ การมีบทบาทของนักธุรกิจชาวต่างชาติคนดังอย่าง นายหันแตร (แดเนียล เฟรเซอร์) เจ้าของห้างฯ แห่งแรกในประเทศไทย ที่เสมือนเป็นหนึ่งในตัวร้ายในหน้าตำราเรียนวิชาประวัติศาสตร์ไทย เพราะมีความขัดแย้งทางการค้ากับราชสำนัก ซึ่งในหนังหมายถึง เสด็จในกรม (นนกุล ชานน) เกี่ยวกับเรือกลไฟ ‘เอ็กสเปรส’ ที่นำมาเสนอขายแก่สยามประเทศ นอกจากนี้ หนังยังมีบุคคลสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ไทยยุคนั้นคนอื่น ๆ อีก เช่น สุนทรภู่ (นิมิตร ลักษมีพงศ์) และหมอบรัดเลย์

ในพาร์ทความรักหรือการจีบกันของพระนางเป็นพาร์ทที่เราไม่อินนัก (ถึงขั้นเบื่อและหาวเลยก็ว่าได้) รู้สึกมันไม่จำเป็นหลายฉาก เหมือนมีเพื่อเซอร์วิซแฟนคลับของคู่จิ้นหรือ ไอซ์ พาริส เสียมากกว่า ในส่วนของพาร์ทประวัติศาสตร์ ซึ่งได้ รอมแพง นักเขียนนิยายจากภาคแรก มาเป็นที่ปรึกษาด้วยนั้น เราค่อนข้างโอเค เพราะพยายามนำเสนอประวัติศาสตร์ในแง่มุมใหม่ และการตีความทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างจากตำราเรียน ถึงแม้ยังโลกสวยและติดราชาชาตินิยมอยู่มาก แต่ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่หนังไทยเรื่องต่อ ๆ ไปสามารถนำจุดแข็งไปต่อยอดและพัฒนากันต่อไป

 

 

 

รีวิวหนัง บุพเพสันนิวาส 2 เรื่องย่อ

เรื่องโดยย่อของหนังก็คือ เมื่อครั้งสมัยอยุธยา พี่หมื่นและเกศสุรางค์ (a.k.a.การะเกด) ครองรักครองเรือนจนตายจากไปแล้ว แต่ทั้งคู่ได้มีโอกาสกลับชาติมาเกิดใหม่อีกครั้งในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พี่หมื่นมาเกิดเป็น ‘ภพ’ (ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ) นายช่างหนุ่มหล่อที่ฝันถึงหญิงนางหนึ่ง และเชื่อหมดใจว่าเป็นบุพเพสันนิวาส

จนเมื่อเขาได้พบเจอกับ ‘เกสร’ (ราณี แคมเปน) ชาติภพใหม่ของเกศสุรางค์ที่หน้าเหมือนญิงในฝัน ภพเลยคิดจะเกี้ยวพาราสี แต่เพราะเกสรเรียนกับบาทหลวงฝรั่ง เกสรเลยเป็นหญิงหัวก้าวหน้าและไม่ได้เชื่อบุพเพสันนิวาส แถมเจ้าหล่อนกำลังสนใจ ‘เมธัส’ (พาริส อินทรโกมาลย์สุต) หนุ่มหน้าฝรั่งใส่เสื้อแสงอุษาพูดจาผิดยุคไปเสียอีกแน่ะ

นอกจากเรื่องบุพเพฯ บุพพัง ทั้งสามคนยังต้องเข้าไปวุ่นวายกับประวัติศาสตร์การบ้านการเมืองสยาม ที่มีบุคคลสำคัญในสมัยนั้นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทั้ง ‘พระสุนทรโวหาร (ภู่) – สุนทรภู่’ (นิมิตร ลักษมีพงศ์) ‘บาทหลวงปาลเลอกัวซ์’ (โจนาธาน แซมซัน) ผู้นำกล้องถ่ายรูปเข้ามาในสยาม และ ‘นายห้างหันแตร’ (แดเนียล บรูซ เฟรเซอร์) ผู้นำเข้าเรือกลไฟ ‘เอ็กสเปรส’ มาเสนอขายแก่สยาม จนเป็นเหตุเกิดเรื่องราวที่อาจทำให้ประวัติศาสตร์สยามต้องเปลี่ยนแปลงไป

ถ้าจะนับว่า ‘บุพเพสันนิวาส’ เป็นจักรวาลภาพยนตร์ แม้ตัวละครอย่าง ‘ภพ’ และ ‘เกสร’ จะเชื่อมโยงกันกับฉบับละครในฐานะ ‘พี่หมื่น-การะเกด’ ที่กลับมาเกิดใหม่ แต่ต้วเนื้อเรื่องของ ‘บุพเพสันนิวาส ๒’ ก็ต้องนับว่าเป็นสปินออฟ (Spin-Off) จากเวอร์ชันละครล่ะนะครับ เพราะเนื้อหานั้นไม่ใช่ และไม่เกี่ยวข้องกับภาคต่อ (พรหมลิขิต) แต่อย่างใด

แต่เป็นภาพยนตร์ที่แตกเส้นเรื่องออกมาจากจักรวาลหลัก แถมยังแทบจะไม่มีตัวละครจากฉบับละครกลับมาเลยแม้แต่น้อย และถ้าตัดคำว่าระลึกชาติออก ภพและเกสรก็เปรียบเสมือน ‘ตัวแปร’ ของพี่หมื่นและการะเกดอีกทีก็ว่าได้ (นี่มันบุพเพฯ หรือหนัง Marvel แล้วเนี่ย…)

ในแง่ของบทและคอนเซ็ปต์ ก็ต้องบอกว่า บุพเพฯ ๒ นี้ยังคงรักษาคอนเซ็ปต์ความเป็นรอมคอมที่หยิบเอาประวัติศาสตร์ และบุคคลสำคัญในสยาม มารวมเข้ากับความเป็น Fiction ได้อย่างค่อนข้างลงตัวนะครับ อาจจะเพราะด้วยรอมแพง เจ้าของบทประพันธ์ เข้ามาเป็นที่ปรึกษา เหมือนเป็นแกนกลางให้กับทีมเขียนบทของ GDH ด้วย

ก็เลยยังคงสามารถผสมเรื่องแต่งเข้ากับประวัติศาสตร์ยุครัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ 3 ได้ออกมาสนุก น่าสนใจใคร่รู้ และมีจุดเชื่อมโยงถึงกันและกันและกันได้อย่างลงตัว

 

 

รีวิวหนัง บุพเพสันนิวาส 2 ออเจ้า

ถ้ายังจำกันได้ ในงานเปิดไลน์อัปผลงานของ GDH ที่ชื่อว่า ‘GDH Xtraordinary 2021 Line Up‘ ที่จัดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว มีไตเติลอันหนึ่งที่เปิดตัวครั้งแรกในงานนั้นด้วย

นั่นก็คือ ‘บุพเพสันนิวาส ๒’ ที่ถือว่าฮือฮามาก เพราะว่าเป็นผลงานร่วมทุนครั้งแรกของ GDH และ ‘บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น’ หยิบเอาผลงานละคร ‘บุพเพสันนิวาส’ (2561)

ที่เคยสร้างกระแส ‘พีหมื่น-การะเกด’ ที่เคยกวาดเรตติงละครสูงทะลุถึง 18.6 ส่วนวันพุธ-พฤหัสบดีที่ออกอากาศเพลาใด เทรนด์ทวิตเตอร์ก็ติดอันดับมิได้ขาดสาย มาสร้างในรูปแบบภาพยนตร์นะออเจ้า

และถ้านึกย้อนไปเมื่อตอนละครฉาย นอกจากกระแสความสนุก ประทับใจ ฟินเวอร์ของละครแบบถล่มทลายแล้ว ไอเทมสิ่งละอันพันละน้อยในละครยังกลายมาเป็นซอฟต์พาวเวอร์ให้ชาวไทยเพลานั้นแต่งตาม กินตาม ใช้ตาม เที่ยวตามกันเป็นว่าเล่น ตั้งแต่กระแสการแต่งชุดไทย กุ้งเผา หมูกระทะ มะม่วงน้ำปลาหวาน พี่หมื่นแรปด่าการะเกด

(เจ้าเป็นคนกำเริบ ฯ) โล้สำเภา พ่อม้ำน้ำ มนต์กฤษณะกาลี มีมพี่กิ๊ก สุวัจนี ฯลฯ แถมยังพาให้หนังสือนิยายต้นฉบับที่ประพันธ์โดย ‘รอมแพง’ (จันทร์ยวีร์ สมปรีดา) ขายดีจนพิมพ์ซ้ำนับไม่ถ้วน

มาถึงปีนี้ ตัวหนัง ‘บุพเพฯ ๒’ ตัวหนังได้ ‘พี่ปิ๊ง’ (อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม) ผู้กำกับแห่ง ‘จอกว้างฟิล์ม’ เจ้าของผลงาน ‘รถไฟฟ้า มาหานะเธอ’ (2552) และละคร ‘น้ำตากามเทพ’

(2558) มารับหน้าที่กำกับภาพยนตร์ แถมยังเปิ๊ดสะก๊าดด้วยการเป็นหนังไทยเรื่องแรกที่เปิดขายโทเคนดิจิทัลเพื่อระดมทุนสร้างผ่าน ‘Destiny Token’

ที่ขายหมดเกลี้ยงไปแล้วเรียบร้อย ได้มูลค่าระดมทุนรวม 265 ล้านบาท ส่วนรายชื่อผู้ระดมทุนก็จะได้รับการขึ้นเครดิตท้ายในฐานะ Executive Producer

 

 

บุพเพสันนิวาส 2 จากละครยุคอยุธยาสู่ภาพยนตร์ยุครัตนโกสินทร์

ถ้าจะให้รีวิว “บุพเพสันนิวาส 2” คงอดชมไม่ได้ว่าพล็อตเรื่อง ฉากต่าง ๆ ถูกรังสรรค์และจัดวางมาอย่างลงตัว เป็นพล็อตเรื่องที่คาดเดาไม่ค่อยได้ ไม่ดูถูกคนดู และมีเสน่ห์ในแง่ที่เต็มไปด้วยมุขตลก แต่ก็เต็มไปด้วยสาระ เกร็ดความรู้ทางประวัติศาสตร์มากเช่นกัน ทั้งยังเป็น 3 นาทีที่ใส่ความเป็นไทยในรัตนโกสินทร์ลงไปได้ราวกับกิ่งทองใบหยก

สำหรับใครที่มีความรู้ประวัติศาสตร์ หรืออ่านเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับยุคสมัยนั้นมาบ้าง จะยิ่งสนุกขึ้นไปอีก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปาลเลอกัวซ์ นายห้างหันแตร หมอบรัดเลย์ และสุนทรภู่

ตัวเดินเรื่องอย่าง “ภพ”, “เกสร” , และ “เมธัส” ก็เดินเรื่องได้ดี แทบไม่มีที่ติ #โป๊ปเบลล่า คือ นักแสดงที่เหมาะแก่การเป็นคู่พระนางของเรื่องนี้อย่างสมบูรณ์แบบ ดูแล้วสัมผัสได้ถึงความแตกต่างของ “พี่หมื่น-น้องการะเกด” และ “พี่ภพ-น้องเกสร” นอกจากนี้ ในภาพยนตร์เรื่องนี้คุณจะได้เห็นพัฒนาการการแสดงอีกขั้นของไอซ์ พาริส อย่างแน่นอน (ไปดูกันเอาเอง ฮ่า ๆ)

MVP ของเรื่อง ขอยกให้ “อาภู่ (สุนทรภู่)” เพราะออกมาไม่บ่อยมาก ทว่าทุกฉากที่ออกมามักสร้างความพีคไม่หยุด บางฉากเล่นมุขง่าย ๆ ที่เราอาจเคยเห็นมาบ้าง แต่ด้วยตัวละคร จังหวะ กรู๊ฟ มันเข้ากันอย่างเพอร์เฟ็กต์จนกลั้นขำไว้ไม่ได้

 

 

รีวิวหนัง บุพเพสันนิวาส 2 ความรู้สึกหลังดูจบ

โดยรวมแล้ว ‘บุพเพสันนิวาส ๒’ เป็นภาคขยายพหุจักรวาลของละครบุพเพสันนิวาสในแบบฉบับของ GDH ที่ยังคงกลิ่นอายความเป็นรอมคอมพีเรียดอิงประวัติศาสตร์สไตล์ ‘ออเจ้า’ ได้อย่างสนุกสนาน เป็นหนังแฟนเซอร์วิสที่แฟนละครหลงรัก แต่ก็ยังมีพื้นที่กว้างให้คนที่ไม่เคยดูละครได้ตามทันแบบสนุก ๆ แม้ว่าจะมีความขาด ๆ เกิน ๆ

มุกทำงานบ้างไม่ทำงานบ้าง และตัวหนังเกือบ 3 ชั่วโมงที่หลายคนอาจรู้สึกว่ามันยาวเกินไป แต่ก็ถือว่าเป็นความบันเทิงที่เหมาะเอาไว้ดูแบบเพลิน ๆ ได้ฮา ได้ฟินแบบไม่ต้องคิดอะไรเยอะ อ่ะ อย่างน้อยดูแล้วก็น่าจะไม่เบะปากคว่ำแบบพี่กิ๊ก สุวัจนี

ในส่วนของงานภาพ แสง สี ของ “บุพเพสันนิวาส 2” GDH ทำได้ตามมาตรฐานของตนเอง เพราะงานภาพคม ละเอียด และค่อนข้างสมจริงเป็นอย่างมาก จะมองไปทางไหนก็สวยไปเสียทุกฉาก ไม่ว่าจะเป็นฉากเอฟเฟ็กต์ ฉากบู๊ ฉากรักโรแมนติก และอื่น ๆ อีกมากมายที่รอให้คุณมาชมด้วยตาตนเอง

บอกตามตรงว่า CG เรื่องนี้ต้องใช้คำว่า “เริ่ดไม่ไหว”

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *